สถิติ
เปิดเมื่อ20/12/2015
อัพเดท20/03/2016
ผู้เข้าชม45683
แสดงหน้า49482
ปฎิทิน
July 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
  


ปางพระพิคเนศที่นิยมบูชาในประเทศไทย

อ่าน 508 | ตอบ 3
คนนิยม 10 ปาง
  พุธคุณต่างกัน

       
       เมื่อมีคนนิยมมากขึ้นย่อมต้องมีการจัดสร้างมากขึ้นในอนาคต ทำให้หลายๆคนเชื่อว่าจะเกิดเป็นพุทธพาณิชย์ เช่นเดียวกับองค์จัตุคามรามเทพ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับคนที่รู้ไม่จริง บุนนาค บอกว่า การจัดสร้างพระพิฆเนศจะต้องจัดสร้างให้ถูกต้องตามหลักการ ซึ่งสามารถดูแบบอย่างหรือขอคำปรึกษาได้ที่กรมศิลปากร
       
       สำหรับคนที่ศรัทธาในองค์พระพิฆเนศส่วนใหญ่จะเห็นรูปเคารพท่านเป็น 2 แบบคือแบบนั่งและแบบยืน แต่ในความเป็นจริงแล้วพระพิฆเนศจะมีพระนามมากมายถึง 108 พระนาม ในขณะที่มีปางที่ได้รับการสรรค์สร้างออกสู่สายตาของผู้นับถือ 32 ปาง แต่ในแง่เทวประติมานั้นมีอยู่เพียง 10 ปางเท่านั้นที่คนนิยมบูชา โดยการบูชาในแต่ละปางก็ให้คุณที่แตกต่างกันออกไป
       
       1.ปางพาลคเณศ เป็นพระพิฆเนศในวัยเด็กรูปลักษณ์ที่เห็นมักจะเป็นพระพิฆเนศที่ยังคลานอยู่กับพื้น หรือยังอยู่ในอิริยบถไร้เดียงสาอย่างเด็ก ๆ แต่ถ้าโตขึ้นจะนั่งขัดสมาธิเพชรบนดอกบัวมี 4 กร ถือขนมโมทกะ กล้วย รวงข้าว ซึ่งหมายถึงความเป็นสุขภาพดีของเด็ก ๆในครอบครัวรวมความหมายถึงให้เด็ก ๆได้ระลึกถึงการเคารพรักในบิดา มารดา ปางนี้นิยมบูชากันในบ้านที่มีเด็กเล็กและเด็กในวัยเรียน
       
       2.ปางนารทคเณศ ปางนี้จะเป็นพระพิฆเนศที่อยู่ในอิริยาบถยืน มี 4 กร ในมือถือคัมภีร์และหม้อน้ำกมัลฑลุ ไม้เท้า และร่ม หมายถึงการเดินทางไกล แต่มักจะเป็นการเดินทางไปเพื่อการศึกษาต่อหรือเป็นปางนี้เหมาะแก่วิชาชีพของคนที่เป็นครูบาจารย์เท่านั้น
       
       3.ปางลักษมีคเณศ ปางนี้พระพิฆเนศจะประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมี 6 กร และพระหัตถ์หนึ่งโอบพระลักษมีเทวีไว้ การบูชาปางนี้เสมือนหนึ่งได้บูชาเทพทีเดียวกันถึง 2 พระองค์ในลักษณะของทวิภาคี (พระพิฆเนศ -พระลักษมี) กล่าวคือ ลักษมีคเณศหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ พูนสุข ความมั่งคั่ง มั่งมีอย่างหาที่สิ้นสุดมิได้
       
       4.ปางวัลลยภาคเณศ ปางนี้พระพิฆเนศจะอุ้มพระชายาทั้ง 2 ไว้บนตักทั้งซ้ายและขวา ซึ่งชายาทั้งคู่คือคือนางพุทธิและสิทะ ซึ่งตำนานได้กล่าวไว้ ปางนี้ให้ความหมายในลักษณะของความสมบูรณ์ของการเป็นครอบครัวมีทรัพย์สินและบริวารมากมาย
       
       5.ปางมหาวีระคเณศ เป็นพระพิฆเนศที่มีจำนวนของพระกรมากเป็นพิเศษ อาจจะ 12,14 หรือ16 กร โดยแต่ละพระหัตถ์นั้นถือศาสตราวุธหลากหลายชนิดแตกต่างกันไปอาทิลูกศร คันธนู ดาบยาว ตะบอง ขวาน จักร บ่วงบาศ งูใหญ่ หอก ตรีศูล ปางนี้ถือกันว่าเป็นปางออกศึกเพื่อปราบศัตรูหมู่อมิตรทั้งหลาย ดังนั้นจึงเป็นความเหมาะสมพิเศษกับบรรดานักรบ แม่ทัพนายกอง ทหาร ตำรวจและข้าราชการ
       
       6.ปางเหรัมภะคเณศ เป็นปางที่ห้อยพระบาทอยู่บนพญาราชสีห์ ซึ่งปางนี้จะมีอยู่ห้าเศียร หรืออาจจะเป็นเศียรตามปกติก็ได้ เพราะสัญลักษณ์ที่แท้จริงของปรางค์นี้ก็คือ สิงโตเท่านั้น เพราะสิงโตเป็นเจ้าป่า ดังนั้นจึงเหมาะสมที่ผู้ใหญ่ที่ต้องมีบริวารในการปกครองมาก นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ที่บรรดากษัตริย์ทั้งหลายแต่โบราณนิยมบูชากัน เรียกว่าเป็นสุดยอดปางของพระพิฆเนศก็ว่าได้
       
       7.ปางสัมปทายะคเณศ เป็นปางที่เราพบเห็นกันบ่อยคือ มีอาวุธอยู่ในสองพระหัตถ์บน ส่วนพระหัตถ์ล่างด้านซ้ายนั้นถือขนม และด้านขวาอยู่ในท่าประทานพร ซึ่งความหมายของปางนี้คือ การอำนวยพรให้ประสบความสำเร็จนั่นเอง
       
       8.ปางตรีมุขคเณศ เป็นพระพิฆเนศที่มี 3 พระพักตร์ 4 กร มีความหมายถึง 3 โลก แต่บางคนเชื่อว่าหมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเหมาะกับผู้ปฎิบัติธรรมที่ต้องการขจัดอุปสรรคและสิ่งชั่วร้ายต่าง ๆ
       
       9.ปางปัญจคฌณศ บางคนเรียกปางนี้ว่า พระพิฆเนศเปิดโลก ถือเป็นปางที่เชื่อกันว่าจะทำให้ประสบความสำเร็จในทุก ๆ ด้าน
       
       10.ปางวิชัยคเณศ เป็นปางที่พระพิฆเนศขี่หนูเป็นพาหนะ มี 4 กร พระหัตถ์ขวาด้านล่างอยู่ในท่าประทานพร ซึ่งมีความหมายถึงการอยู่เหนือบริวารนั่นเอง
       
       'ทั้ง 10 ปางนี้จะเห็นได้ในบ้านเราแต่การจัดสร้างที่ทำขึ้นใหม่นี้อยากให้เรียกเป็นรุ่นจะถูกต้องกว่าเพราะการจัดสร้างเท่าที่เห็นจะเกิดจากจินตนาการของผู้สร้างมากกว่า'


 
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

ดูหนังHD

แนะนำเว็บมีประโยชน์

ดูหนังออนไลน์
movie.miivoe.com

ดูซีรี่ย์ฝรั่งออนไลน์
series.miivoe.com

ดูทีวีออนไลน์
tv.miivoe.com

 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : https://www.hdmovieupdate.com
ดูหนังHD [5.62.60.xxx] เมื่อ 11/07/2017 03:32
2
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 10/12/2019 15:48
3
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 12/12/2019 22:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :